บทความ 1 หลักเกณฑ์การเลือกใช้แอร์ระบบ vrv vrf

บทความ 1 หลักเกณฑ์การเลือกใช้แอร์ระบบ vrv vrf

ข้อควรพิจารณา หลักเกณฑ์ในการเลือกใช้แอร์ระบบ vrv/vrf สำหรับโครงการของท่าน

ปัจจุบัน แอร์ระบบ vrv/vrf ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างสูง สำหรับโครงการ สำนักงาน อาคารที่พักอาศัย โรงแรม สถาบันการศึกษา รวมไปถึงที่พักอาศัย ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เช่นกัน แต่ท่านทราบไหมว่า อาคารรูปแบบใด ลักษณะการใช้งานเครื่องปรับอากาศแบบไหน ที่เหมาะสม หรือคุ้มค่าที่สุดสำหรับการเลือกใช้ระบบปรับอากาศแบบ vrv / vrf 

แล้วอาคารแบบไหนที่เหมาะ ละครับ??

ก่อนอื่นขอจำแนกอาคารเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้ครับ

1.กลุ่มอาคาร สำนักงาน หน่วยงานราชการ

2.กลุ่มอาคาร คอนโด อพาร์ตเมนต์

3.กลุ่มโรงแรม 

4.กลุ่มสถานศึกษา อาคารเรียน

5. กลุุ่มห้างสรรพสินค้า

6.กลุ่มโรงพยาบาล 

7.กลุ่มบ้านพักอาศัย

ขอเรียงลำดับกลุ่มที่ เหมาะสมและปัจจุบันมีการเลือกใช้ระบบนี้กันอย่างแพร่หลาย 3 ลำดับจากที่ 3 ไปที่ 1 ดังนี้ครับ 

 ลำดับที่ 3 กลุ่มโรงพยาบาล   

     เมื่อสมัย 10-20 ปีที่แล้ว กลุ่มโรงพยาบาลเป็นกลุ่มที่ห่างไกลจากระบบ vrv vrf มากครับ เนื่องมาจากกลุ่มนี้ เป็นพื้นที่ที่มีส่วน Public เยอะ และห้องผ่าตัดที่ต้องการเครื่องปรับอากาศลักษณะ คลีนรูม สมัยก่อนระบบที่มีให้กลุ่มนี้เลือก ส่วนใหญ่ไปจบที่ แอร์รวมศูนย์แบบใช้น้ำเย็น หรือ เรียกสั้นๆ แอร์แบบชิลเลอร์ (Chiller) เกือบ 100% Chiller จะมี 2 ประเภทให้เลือกครับ จะเลือกเป็นแบบระบายความร้อนโดยน้ำ (Water Cooled Chiller) หรือแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air-Cooled) ส่วนใหญ่ ถ้าโรงพยาบาลในกรุงเทพ หัวเมืองใหญ่ ๆ จะนิยมเลือกเป็น water cooled ส่วนโรงพยาบาลต่างจังหวัด ส่วนใหญ่เลือกเป็น air cooled เนื่องจากน้ำประปาที่ต่างจังหวัดค่อนข้างสร้างปัญหาให้กับชุด ระบายความร้อน (Condenser)ค่อนข้างง่าย ส่วนน้ำประปาในเขตกรุงเทพ ไม่ค่อยเจอปัญหาดังกล่าว ในสมัยนั้น ระบบ vrv vrf ยังไม่แพร่หลาย ราคายังคงเกินเอื้อม สูงกว่า chiller ค่อนข้างมากและระบบ vrv ยังไม่มีชุดภายในแบบ AHU ขนาดใหญ่ๆ ทำให้ไม่สามารถรองรับพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ ต้องใช้จำนวน ชุดภายในขนาดเล็ก จำนวนหลายเครื่อง มาสู้กับ chiller ซึ่งในรูปแบบเครื่องเยอะๆ ดูยุ่งยากและเสียพื้นที่ แขวนหลายจุด  ต้องบำรุงรักษาเครื่องหลายจุด ราคาสูงทำให้ระบบ vrv ไม่สามารถแข่งขันได้ 

            ปัจจุบันแอร์ระบบ vrv / vrf ได้พัฒนา ปัญหาต่างๆได้เกือบหมด มีเครื่องชุดภายในขนาดใหญ่ AHU รองรับได้เกือบ 600,000 บีทียู เหมือนกับระบบ chiller ราคาถูกลงเนื่องจากได้รับความนิยมสูง การดูแลรักษาทำได้ง่ายกว่า chiller และ ประมาณ 60% ของโครงการโรงพยาบาลที่สร้างใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญถูกออกแบบเป็นระบบ vrv vrf   

ลำดับที่ 2 กลุ่มโรงแรม

            เปรียบเช่นเดียว กับกลุ่มโรงพยาบาล กาลเวลาเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน ราคาvrf เปลี่ยน รุ่นน้องก็ล้มรุ่นพี่ สำเร็จ โรงแรมส่วนใหญ่ขานรับการใช้ระบบ vrv เกินกว่า 70% ยุคของชิลเลอร์เริ่มเปลี่ยนเป็นยุค vrf  เนื่องจากลักษณะการใช้งานของกลุ่มโรงแรมมีการแปรเปลี่ยนของการใช้ความเย็นค่อนข้างสูง มีช่วง high season ,low season แขกมาพักส่วนใหญ่ใช้แอร์ช่วงเย็นถึงเช้าเป้นหลัก ทำให้ไปเข้าทางแอร์ระบบ vrf แบบจัง เพราะ character ของ vrf อัตราการประหยัดพลังงาน หรือค่าไฟ จะดีมากที่ Part Load ในขณะตรงกันข้ามระบบ chiller จะไม่ดีที่ Part Load และด้วยเหตุผลที่เหมือนกลุ่มโรงพยาบาล ทำให้กลุ่มนี้กลายเป็นกลุ่มแม่ทัพหลักของระบบ vrv vrf

 ลำดับที่ 1 กลุ่มอาคาร สำนักงาน หน่วยงานราชการ

           ต้องบอกว่า ระบบ vrv vrf ยอดขายเติบโดแข็งแกร่งด้วยแรงสนับสนุนจากกลุ่มนี้ละครับ กลุ่มนีเยอะมากครับ กระจายตัวทั่วประเทศ ขนาด สเกลของการต้องการใช้ความเย็น ตรงสเป็คของ vrv vrf แบบแทบไร้คู่แข่ง เนื่อง chiller ลงมากลุ่มนี้ไม่ได้ คู่ปรับของระบบvrv vrf จึงเหลือเพียงแบบ แยกส่วน split type unit ซึ่งปัจจุบัน ค่าไฟฟ้าต่อเดือน จะเป็นอาวุธของ vrf ที่จะเอาชนะ split type ด้วยค่าไฟเคยเสียเท่าไหร่ให้หาร 2 ด้วยการใช้แอร์ระบบ vrf และด้วยระยะเวลาคืนทุนเพียง 2-3 ปีเท่านั้น  และอาวุธสำคัญที่เหนือกว่า split type unit เป็นเรื่องของการควบคุมจากส่วนกลางของระบบ vrf ที่ทำให้สามารถจัดการอาคารได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดอุณภูมิการใช้งานให้ออฟฟิศที่เป็นช่วงหรือล็อคการปรับอุณภูมิของพนักงาน ตั้งเวลาเปิด ปิด อัตโนมัติ ทั้งปี หรือการตั้งโปรแกรมประหยัดพลังงานต่างๆ คิดค่าไฟฟ้า ตัด peak ได้ มากมายจิปะถะ ส่วนใหญ่เจ้าของโครงการจะยอมลงทุน เพิ่มเพื่อเลือกใช้ระบบนี้ และด้วยความสวยงามของอาคารได้มาเพิ่มเนื่องจากไม่ต้องมี ชุดระบายความร้อนหรือ cdu รอบบริเวณอาคาร ด้วยอีก กลุ่มนี้จึงยกให้ ระบบ vrv vrf เป็นลำดับแรกๆของการเลือกใช้ ดังนั้นจึงจัดว่ายอดขายส่วนใหญ่ของระบบ vrv vrf มาจากกลุ่ม สำนักงานเป็นลำดับที่ 1 

 ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม สำหรับการเลือกใช้แอร์ระบบ vrv vrf

 

1.ค่าไฟฟ้าต่อเดือนที่คุณต้องเสีย เยอะไหม เช่นถ้า โครงการคุณเป็นโรงแรม 5ชั้น 80ห้อง เสียค่าไฟฟ้าต่อเดือน 120,000 บาท ถ้าคุณเปลี่ยนไปใช้แอร์ระบบ vrv/vrf คุณอาจเสียค่าไฟฟ้าเพียง 60,000 บาท กลับกันถ้าคุณเป็นเจ้าของบ้านมีห้อง 4-5 ห้องในบ้าน ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเสียต่อเดือน 4,000 บาท กรณีติดตั้งแอร์ระบบ vrv / vrf คุณประหยัดค่าใช้จ่ายเพียง 2,000 บาท อาจดูน้อยไปนิด

2.คุณเน้นความสวยงาม ความเป็นระเบียบ ของอาคารที่คุณให้สถาปนิกออกแบบมาอย่างสวยงาม คุณยินยอมที่จะเห็นอาคาร หรือที่พักอาศัยของคุณ ถูกวางไปด้วยชุดคอยล์ร้อน รอบบ้านหรือไม่ และพวกรางครอบท่อแอร์ที่พาดอยู่รอบอาคารคุณ  หรือที่พักอาศัยคุณ ได้ขนาดไหน ถ้าคำตอบคือ คุณเน้น การติดตั้งแอร์ระบบ vrv/vrf จะตอบโจทย์คุณอย่างยิ่ง

3.งบประมาณของคุณมีพร้อมที่จะลงทุนหรือไม่ แอร์ระบบ vrv/vrf โครงการส่วนใหญ่ที่ ตัดสินใจเลือกใช้ จะจากการมองจุดคุ้มทุนใน 2-3 ปีข้างหน้า ไม่ได้เน้นราคาถูกในตอนแรก แพงหน่อยแต่คุ้มทุนไม่นานนัก

 ทางบริษัท เอแพ็ค ซิสเต็มแอนส์เซอร์วิส จำกัด เรามีทีมงานมืออาชีพ รับติดตั้งแอร์vrv /vrf พร้อมให้คำปรึกษาและออกแบบแอร์ระบบ vrv/vrf ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ประเมินจุดคุ้มทุนแอร์ระบบ vrv /vrf ประเมินค่าไฟฟ้าแอร์ระบบ vrv/vrf ราคาแอร์ vrv/vrf ที่ไหนแพงลองติดต่อเรา ก่อนการตัดสินใจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

meta keyword :หลักเกณฑ์การเลือกใช้แอร์ระบบ vrv vrf แอร์ระบบvrv/vrf, รับติดตั้งแอร์ vrv/ vrf, แอร์ vrvไดกิ้น แอร์vrf ราคาแอร์ vrv vrf ราคาแอร์ระบบvrv vrf เลือกซื้อแอร์ vrv vrf ยี่ห้อไหนดี, ราคาแอร์ระบบ vrv vrf แพงไหม?, ระบบ vrv vrf คือ? ระบบ vrv vrf หมายถึง, แอร์ vrv vrf ประหยัดค่าไฟฟ้า? ข้อแตกต่าง แอร์ vrv vrf กับ แอร์ทั่วไป แอร์vrv vrf ไดกิ้น แอร์ vrv vrf มิตซูบิชิ, แอร์ vrv vrf โตชิบา

โปรโมชั่น daikin

<โปรโมชั่น วันนี้ – 30 พฤศจิกายน 2560> ไดกิ้นขอแนะนำโปรโมชั่นล่าสุด “Daikin Rainy Super Fresh 2017” ให้ทุกคนได้สัมผัสกับความเย็นสบายจากเครื่องปรับอากาศไดกิ้น พร้อมรับกระเป๋าเดินทางขนาด 20 นิ้ว...

โปรโมชั่น daikin ธันวาคม 2560 – 31 มกราคม 2561

<โปรโมชั่น วันนี้ – ถึง 31 มกราคม 2561> อากาศดีๆ รับปีใหม่กับโปรโมชั่น เครื่องฟอกอากาศไดกิ้น เงื่อนไขในการใช้ส่วนลด:• ลูกค้าต้องสแกน QR Code นี้ เพื่อเข้าไปกด...

Thursday the 28th. Design by QualityJoomlaTemplates. Custom text here
Copyright 2012

©